ในอุตสาหกรรมระดับ SME และขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสำรองสินค้าในคลัง ส่งผลให้การใช้รถโฟล์คลิฟท์ ซึ่งเป็นรถยกสำหรับการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ อุปกรณ์และสินค้า ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ส่วนประกอบรถโฟล์คลิฟท์

การรู้จักชิ้นส่วนต่างๆ ของรถโฟล์คลิฟท์อย่างละเอียด นับว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ท่านสามารถดูแลรถโฟล์คลิฟท์ให้ใช้งานได้ยาวนาน ลดต้นทุนในการบำรุงรักษาเครื่องจักรในระยะยาว และที่สำคัญคือ ช่วยลดอุบัติเหตุและความเสียหายต่อผู้ทำงานและสินค้ารูปแบบต่าง ๆ ด้วย

ชิ้นส่วนสำคัญต่าง ๆ ของรถโฟล์คลิฟท์ ที่ท่านควรรู้จัก มีดังนี้

ส่วนประกอบรถโฟล์คลิฟท์

1. ห้องโดยสาร (CAB)

ภายใต้หลังคาโครงเหล็กของรถ Forklift คือ ส่วนห้องโดยสารซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวผู้ปฏิบัติงานโดยตรง เพราะเป็นพื้นที่สำหรับการควบคุมรถที่สามารถเข้าไปยืนหรือนั่งได้ (ขึ้นอยู่กับชนิดของรถ) และมีชิ้นส่วนที่ช่วยในการบังคับควบคุมเช่นเดียวกับรถยนต์ทั่วไป ได้แก่ พวงมาลัย เบรค คันเร่ง หน้าจอมอนิเตอร์ที่มีสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อควบคุมรถได้อย่างปลอดภัย และที่เพิ่มขึ้นมาเป็นพิเศษ ก็คือ ตัวบังคับงาบรรทุกของด้านหน้ารถให้ปรับระดับ (ยก เอียง กระดก) ได้

2. เสายก (MAST)

หนึ่งในเอกลักษณ์ของรถโฟล์คลิฟท์ที่ทำงานคู่กับงารถ ก็คือ เสารถยก โดยทำงานแบบระบบรางเลื่อน เพื่อสไลด์ปรับระดับงายกสินค้าให้ขึ้นลงได้อย่างมั่นคง โดยทั่วไปแล้ว เสายกนี้สามารถยกวัตถุจากพื้นสูงได้ถึง 3 เมตร แต่บางรุ่นที่พิเศษอาจประกอบด้วยชุดเสาย่อย 2-3 ท่อน จึงยืดความสูงได้มากขึ้นถึง 6 เมตร

ขับรถโฟล์คลิฟท์

3. งารถโฟล์คลิฟท์ (FORKS)

จุดเด่นอันเป็นที่มาของชื่อรถโฟล์คลิฟท์ คือ งา หรือ FORK เป็นแท่งโลหะแบนคู่ขนานกันสองชิ้นที่ยื่นมาด้านหน้าตัวรถ สำหรับการสอดใต้กล่องสินค้าหรือวัตถุที่ต้องการยกได้อย่างสะดวก งารถโฟล์คลิฟท์มีขนาดที่รองรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 1 ตันครึ่ง จนถึง 5 ตัน และความยาวตั้งแต่ 92-240 เซนติเมตร ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องเลือกขนาดและความยาวของงารถโฟล์คลิฟท์ให้สัมพันธ์กับการใช้งาน เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายและอุบัติเหตุที่อาจตามมา หากใช้ยกสินค้าเกินขีดจำกัดการใช้งาน

งารถยกโฟล์คลิฟท์

4. ล้อหน้า (FRONTWHEEL)

ล้อหน้าของรถโฟล์คลิฟท์ จะมีขนาดใหญ่กว่าล้อหลัง เนื่องจากต้องรองรับน้ำหนักสิ่งของบนงายก และใช้ขับเคลื่อนตัวรถไปมา นอกจากนี้ในกรณีที่เป็นรถแบบยืนขับ ล้อหน้าจะเป็นจุดสำคัญในการควบคุมการเบรกอย่างปลอดภัยด้วย

5. ล้อหลัง (REAR-WHEEL)

                การบังคับทิศทางของรถโฟล์คลิฟท์อาศัยล้อหลังเป็นสำคัญ ซึ่งสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายสิ่งของในพื้นที่จำกัด เช่น โกดังขนาดเล็ก ลานจอดรถ ฯลฯ ที่ต้องอาศัยความแม่นยำ จึงไม่เกิดอุบัติเหตุตามมา ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องไม่ประมาทในการขับขี่ ต้องฝึกฝนให้บังคับรถโฟล์คลิฟท์ได้อย่างแม่นยำ ทั้งต้องหมั่นตรวจสอบความสมบูรณ์ของยางล้อหลังเช่นเดียวกับล้อหน้า ตามระยะเวลาการใช้งาน

6. กระบอกไฮโดรลิก (HYDRAULIC LIFT CYLINDER)

                เนื่องจากรถโฟล์คลิฟท์มีวัตถุประสงค์การใช้งานเพื่อยกสินค้า ย้ายจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งอย่างปลอดภัย กระบอกไฮโดรลิกจึงเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ทำให้เสายกถูกปรับองศาให้ได้ระดับที่เหมาะสมตามต้องการ

กระบอกไฮโดรลิครถโฟล์คลิฟท์

7. โซ่ยก (CHAIN)

                โซ่ยกจะทำงานสัมพันธ์กับกระบอกไฮโดรลิก เพื่อยกงาขนสินค้าได้ ถือเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองของระบบที่สำคัญและต้องหมั่นบำรุงรักษา

8. ที่พิงสินค้า (LOAD BACKREST)

                ที่พิงสินค้าถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้สินค้าที่อยู่บนงาโคลงเคลงขณะยก อันทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งของ ตัวรถและผู้ปฏิบัติงานได้ โดยหากสังเกตจะพบว่า ในขณะที่กำลังยกงา จะมีการปรับระดับให้เอนงาเข้าหาตัวรถ เพื่อให้สินค้าพิงได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น

9. โครงด้านบนสำหรับป้องกันศีรษะ (HEAD GUARD)

รถ forklift ทุกคันต้องมีส่วนโครงเหล็กที่อยู่สูงกว่าระดับศีรษะ เพื่อป้องกันกรณีสิ่งของที่อยู่บนงายก ร่วงลงมาสู่บริเวณห้องควบคุมที่ยืนหรือนั่งอยู่ และด้วยการออกแบบโครงให้มีความโปร่ง ยังช่วยเพิ่มมุมมองให้เห็นระดับการวางวัตถุของบนชั้นวางที่อยู่สูงได้ดีขึ้นด้วย

ส่วนประกอบรถโฟล์คลิฟท์

เมื่อท่านได้รู้จักชิ้นส่วนต่าง ๆ และหน้าที่ของอุปกรณ์เหล่านั้นของรถโฟล์คลิฟท์ เราเชื่อมั่นว่า ท่านจะมีมุมมองในการเลือกซื้อรถโฟล์คลิฟท์และบำรุงรักษารถโฟล์คลิฟท์ที่เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้รถโฟล์คลิฟท์เป็นหนึ่งฟันเฟืองหรือเครื่องจักรสำคัญที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานอย่างดีที่สุดในธุรกิจของท่าน

ซื้อรถโฟล์คลิฟท์

ราคาที่แจ้งไว้ในเว็บ เป็นราคา ณ ปัจจุบันที่จัดทำเว็บไซต์
และราคาสินค้าทุกประเภท สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามราคาต้นทุนสินค้า ราคาขนส่งที่ปรับขึ้น
(บริษัทฯ ไม่สามารถแก้ราคาได้ทันทีทันใด) กรุณาติดต่อฝ่ายขายก่อนทำการสั่งซื้อ ทุกกรณี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า